ในวาระครบรอบ 30 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 ปล่อยแคมเปญ ‘ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล’ รณรงค์ให้ดูแลสุขภาพ ออก 30 แพ็คเกจ ป้องกันก่อนป่วยครอบคลุม 5 ช่วงวัยชีวิต

               โรงพยาบาลพญาไท 2 น้อมนำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องการแพทย์และการสาธารณสุข “ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมือง นั่นเอง” มาเป็นแนวคิดในการจัดกิจกรรมรณรงค์ ผลักดันให้สังคมมีสุขภาพดี “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล” ให้ความรู้เรื่องการรักษาสุขภาพ ดูแล และป้องกันก่อนเจ็บป่วย

                “ถ้าเราไม่อยากให้ใครป่วยมาเข้าโรงพยาบาล เราก็ต้องดูแลก่อนที่เขาเหล่านั้นจะเจ็บป่วย” นายแพทย์อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าว “เราจึงต้องให้บริการข้อมูลสุขภาพที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติตาม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงซึ่งนำไปสู่โรคต่างๆ อาทิ ‘30 เคล็ดลับสุขภาพเพื่อชีวิตดี’ ‘30 วิธีเปลี่ยนตัวเองให้ไกลโรค’ รวมทั้งหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง ด้วยแพ็คเกจสุขภาพตรวจรู้ก่อนป่วยครอบคลุมชีวิต 5 ช่วงวัย”

                 โดยแพ็คเกจ ‘อย่าปล่อยให้ป่วยทั้ง 5 ช่วงวัยของชีวิต’ ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดจนถึงวัยรุ่นตอนต้น ด้วยแพ็คเกจ ‘อย่าปล่อยให้ลูกแป้ก’ ตรวจฮอร์โมนการเจริญเติบโต ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการทั้ง ด้านร่างกายและจิตใจของเด็กให้เป็นไปตามวัย แพ็คเกจ ‘อย่าปล่อยให้ลูกแปรปรวน’ กับการติดเกม ดูแลช่วงชีวิตวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ มีอารมณ์แปรปรวน เป็นวัยที่เข้าถึงยาก และบางครั้งเด็กหันเข้าหาเกมจนเกิดอาการติดเกม ที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสายตาและสภาพทางอารมณ์ แพ็คเกจ ‘อย่าปล่อยให้ปวด ดูแลช่วงชีวิตวัยทำงาน ที่บางครั้งเกิดความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวบางส่วนนั้นอาจเกิดจากโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ เนื้องอกในสมอง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดควรได้รับการวินิจฉัยตรวจคัดกรองเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่กระทบต่อหน้าที่การงาน และแพ็คเกจ ‘อย่าปล่อยให้เปลี่ยน’ ดูแลช่วงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ ที่เน้นในเรื่องการใช้ชีวิตในภาวะวัยทองให้มีความสุขซึ่งเกิดขึ้นได้กับทั้งหญิงและชาย ตั้งแต่การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ตรวจมะเร็งอวัยวะสำคัญต่างๆ หรือ ตรวจเช็คกระดูกและข้อ รวมถึงผิวพรรณและความงาม เป็นต้น

                แนวโน้มสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน มีการเจ็บป่วยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเรียกว่า โรคสมัยใหม่ หรือในกลุ่ม NCDs โรคที่เราสร้างขึ้นเอง ที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคล เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร ความเครียด การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การขับขี่ ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งถ้าเราสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ให้เกิดน้อยลงได้ในสังคมไทยก็จะมีส่วนช่วยทำให้เกิดสังคมสุขภาพดี มีประชากรที่มีคุณภาพในการช่วยกันพัฒนาประเทศ

                 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับอัตราการเกิดที่ลดลง ทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนวัยสูงอายุเกิน 65 ปี มากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน ผลที่ตามมาคือจะเกิดเป็นความรับผิดชอบของรัฐและสังคมส่วนรวม ที่จะต้องจัดการดูแลทั้งด้านสวัสดิการค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการดูแลทางด้านสาธารณะสุข ซึ่งจะทำให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศหากจัดการไม่ดีพอ

               “เราก็พอมองเห็นภาพแนวโน้มของภาวะความเจ็บป่วยของประชากรที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้สูงอายุย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าคนอายุน้อย ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น โรคของผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม อัมพฤกษ์อัมพาต โรคเกี่ยวกับกระดูกและฟัน โรคเหล่านี้ต้องการการรักษาต่อเนื่อง โรคของผู้สูงอายุเหล่านี้จะเพิ่มภาระในการดูแลรักษาให้กับสังคมไทยในอนาคต” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวเสริม

                แนวทางที่ดีในการหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย คือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ซึ่งต้องดูกันตั้งแต่เริ่มต้นวัยเด็กนั่นเอง เพื่อให้ออกไปใช้ชีวิตกับครอบครัว และสังคมอย่างมีความสุข

Facebook Comments Box