Site icon Spotlight Daily

Fitbit Alta HR สายรัดข้อมือฟิตเนสเพรียวบางที่สุดแห่งยุค

ถอดรหัสจังหวะการเต้นหัวใจ เข้าใจความหมายของการออกกำลังกายและการนอน
เสริมสร้างสุขภาพที่ดีด้วย
Fitbit Alta HR สายรัดข้อมือฟิตเนสเพรียวบางที่สุดแห่งยุค

จากซ้าย พญ.วรรวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์, มร.อเล็กซานเดอร์ ฮีลีย์, มร.หลุยส์ ลายย์ และโค้ชโอ๊ต ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์

              ยุคนี้ไม่ว่าคนเจเนอเรชั่นไหนก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การดูแลสุขภาพและภาพลักษณ์  ทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายด้วยวิธีง่ายๆ อย่างการวิ่งในสวนสาธารณะ เข้าฟิตเนส เล่นโยคะ คลาสพิลาทิส ปั่นจักรยาน ฯลฯ  ซึ่งสามารถช่วยเผาผลาญไขมันที่สะสมและช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดีขึ้น รวมทั้งพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วยการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ “จังหวะการเต้นของหัวใจ” นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเอง ยกระดับไปให้ถึงเป้าหมายด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย

Fitbit Alta HR

3 โค้ชหนุ่มหล่อ นำทีมเวิร์คช็อปออกกำลังกาย พร้อมวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

             มร.หลุยส์ ลายย์ ผู้จัดการประจำประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมร.อเล็กซานเดอร์ ฮีลีย์ ผู้จัดการการตลาดบริหารด้านผลิตภัณฑ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงานเปิดตัว ฟิตบิทอัลธ่า เอชอาร์ (Fitbit Alta HR) สายรัดข้อมือฟิตเนสรุ่นเพรียวบางที่สุดแห่งยุค เพิ่มเทคโนโลยีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ออกกำลังกายได้อย่างพอเหมาะพอดี ส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงปริมาณแคลอรีที่ต้องการใช้และเผาผลาญในแต่ละวัน นอกจากนี้ ยังสามารถดูข้อมูลการนอนเชิงลึก ตั้งแต่ช่วงหลับตื้น ช่วงหลับลึก และช่วงหลับ REM โดยสามารถประเมินผลให้คำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อปรับปรุงการนอนหลับและสุขภาพโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้เนรมิตสถานที่จัดงานอย่าง “ฟิตดี ฟิตเนสเซ็นเตอร์”  ย่านซอยรางน้ำ ให้เป็นสถานที่จัดงานสุดเก๋ พร้อมร่วมพูดคุยกับคุณหมอเซเลบริตี้สาวสวยอย่าง “หมอฟ้า” พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ ที่มาพูดคุยถึงความสำคัญของการนอนหลับ รวมถึงประสิทธิภาพของการนอนในแต่ละคืน พร้อมด้วยเทรนเนอร์หนุ่มสุดฮอต โค้ชโอ๊ต” ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์ ที่มาร่วมนำทีมเวิร์คช็อปการออกกำลังกายพร้อมกับวัดอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมชวนเหล่าบลอกเกอร์สาวชื่อดังบนโลกโซเชียลมีเดียมาร่วมทดลอง และสัมผัสประสบการณ์การใช้ฟิตบิทอัลธ่า เอชอาร์เวิร์คช็อปออกกำลังกายเพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจกันอย่างสนุกสนาน

            หมอฟ้า” พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ชะลอวัยทางด้านสุขภาพของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้พูดถึงความสำคัญของการนอนหลับพักผ่อนเอาไว้ว่า “แต่ละคนมีความต้องการพักผ่อนมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉลี่ยแล้วการพักผ่อนที่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงจะทำให้ร่างกายขาดความกระตือรือร้น ตอบสนองช้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น โดยปกติเราแบ่งวงจรการนอนเป็นช่วงๆ ได้แก่ ช่วงหลับตื้น ช่วงหลับลึก และช่วงหลับ REM ซึ่งจังหวะการหายใจจะไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อผ่อนคลายมาก ในช่วงวงจรการนอนในแต่ละคืนจะมีช่วงที่สะดุ้งตื่นหรือช่วงที่สมองยังไม่ได้พักผ่อนอย่างสนิท ทำให้อาจรู้สึกเพลียหรืออ่อนล้าในวันต่อมา หากเราสามารถทราบข้อมูลเชิงลึกของการนอนในแต่ละคืนว่าเรามีการนอนแบบไหน ก็จะช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ตรงจุดมากขึ้น”

โค้ชโอ๊ต ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

หมอฟ้า พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์

มร.อเล็กซานเดอร์ ฮีลีย์ และมร.หลุยส์ ลายย์ ผู้บริหารจากฟิตบิท

              นอกจากนี้ โค้ชโอ๊ต” ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ยังได้แนะนำเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่สัมพันธ์กับอัตราการเต้นหัวใจ เพื่อให้รู้เท่าทันร่างกายและปรับเปลี่ยนวิธีการออกกำลังเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย กล่าวว่า “การออกกำลังกายที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงอัตราการเต้นของหัวใจเป็นหลัก หากออกกำลังกายแล้วอัตราการเต้นของหัวใจมีระดับที่สูงจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เพราะเส้นเลือดจะสูบฉีดมาก หัวใจเต้นเร็ว ทำให้ช็อค หมดสติ หรือเส้นเลือดแตกได้ โดยระหว่างหรือหลังการออกกำลังกายควรเช็ค “ฮาร์ทเรตโซน” (Heart Rate Zone) หรือระดับอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในการออกกำลังกายของแต่ละคน สามารถคำนวณได้จากสูตร (220 – อายุ) คูณเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของการออกกำลังกาย (โดยเฉลี่ยแนะนำให้อยู่ระหว่าง 60-70 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นหากผู้ออกกำลังกายมีอายุ 32 ปี ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของฮาร์ทเรตโซนอยู่ที่ประมาณ 112.8 นอกจากความเหมาะสมกับสภาพร่างกายแล้ว การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะพอดี ยังส่งผลให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายที่หนักจนเกินกว่าร่างกายจะรับไหว หรือทำให้มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้เกิดภาวะโอเวอร์เทรนนิ่ง (Overtraining) ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ส่วนหนึ่งของผลที่ตามมาคือ อาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก เพราะร่างกายยังคงสภาพตื่นตัวอยู่นั่นเอง”

กิจกรรมเวิร์คช็อปการออกกำลังกายพร้อมวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

เหล่าบลอกเกอร์สาวสวยร่วมเปิดประสบการณ์กับฟิตบิท อัลธ่า เอชอาร์

เหล่าบลอกเกอร์สาวสวยร่วมเปิดประสบการณ์กับฟิตบิท อัลธ่า เอชอาร์

             นอกจากความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว เรายังต้องอาศัยความเข้าใจและเข้าถึงทุกข้อมูล ทั้งอัตราการเต้นของหัวใจและการนอน เพื่อผลักดันตัวเองให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างครบวงจร ดั่งคำกล่าวที่ว่า ไม่มีใครจะเข้าใจเรา ได้ดีเท่าตัวเราเอง

Fitbit Alta HR

Facebook Comments Box
Exit mobile version