เวนิส เบียนนาเล่ ดึงจาร์เค็น นำสุดยอดงานออกแบบด้านสถาปัตย์
ร่วมอวดสายตานักออกแบบทั่วโลก
ในงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล 2017
จาร์เค็น โชว์ผลงานการออกแบบประติมากรรม เชิงสร้างสรรค์ด้านสถาปัตยกรรมใหม่ ระดับมาสเตอร์พีช ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้จัดงานและภัณฑารักษ์ ให้เป็นศิลปินใหม่ที่มีผลงานที่สนใจโดดเด่น เข้าร่วมอวดโฉมโชว์ฟรี ! บนพื้นที่กว่า 14 ตารางเมตร ของพิพิธภัณฑ์ PALAZZO MICHIEL ในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia 2017 งานมหกรรมศิลปะที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในโลก หรือที่หลายคนเปรียบเทียบว่าเป็นเวที โอลิมปิกของงานศิลปะ ที่ศิลปินชื่อดังจากทั่วโลกใฝ่ฝันที่จะนำผลงานของตัวเองเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานโชว์ในแต่ละครั้ง ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม – 26 พฤศจิกายน 2017 ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 57 โดยผลงานในส่วนของงานสถาปัตยกรรม ซึ่งการจัดงานในแต่ละครั้ง ภัณฑารักษ์จะคัดสรรผลงาน ที่น่าสนใจที่เป็นเทรนด์ หรือไอเดียใหม่ ๆ ของงานด้านสถาปัตย์จากนักออกแบบที่มีชื่อเสียงทั่วโลกเข้าร่วมแสดงด้วย
นางศศิวิมล สินธวณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ บริษัท จาร์เค็น จำกัด สถาปนิกนักออกแบบไทย เจ้าของผลงานสร้างสรรค์จากแนวคิด Freezing มาพัฒนารูปทรงและสีสันบนผลงานออกแบบประติมากรรมจนได้รับความสนใจจากคณะกรรมการจัดงาน คัดเลือกให้นำผลงานเข้าร่วมโชว์ในฐานะศิลปินนักออกแบบหน้าใหม่ ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่จับตามอง ในงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ 2017 หลังจากก่อนหน้านั้น จาร์เค็น เคยประสบความสำเร็จมาแล้วเป็นอย่างมากจากเวทีนักออกแบบระดับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงในรูปแบบ Exhibition ที่งาน SingaPlural Celebrates Design 2017 ประเทศสิงคโปร์ ในธีมชุด “Freezing The Moment” เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นางศศิวิมล กล่าวถึงการร่วมงานในครั้งนี้ว่า “นอกจากจะเป็นความภาคภูมิใจในฐานะของคนไทยที่ได้นำผลงานไปร่วมโชว์กับนักออกแบบทั่วโลก แล้วในฐานะของสถาปนิกหรือนักออกแบบ การเข้าร่วมโชว์ใน Venice Art Biennale 2017 ถือเป็นที่สุดของงานโชว์ระดับโลกอีกงานหนึ่ง สำหรับ Freezing the hearts หยุดทำร้ายหัวใจกัน….ที่เรานำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ทีมงานได้นำแนวคิดจากการเห็นถึงพฤติกรรมของมนุษย์ผ่านการกระทำ และปฏิกิริยาการตอบสนองในแบบต่างๆ มาเป็นแนวคิดในการพัฒนาผลงานออกแบบ ซึ่งในมุมมองของดีไซน์เนอร์นั้น การจะสรรหาวัสดุใหม่ๆ สักชิ้น เพื่อนำมาใช้ในงานอินทีเรีย วัสดุชิ้นนั้นจะต้องมีความพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากชีวิตการทำงานของดีไซน์เนอร์ ในแต่ละวันนั้น ล้วนแล้วแต่ได้เจอกับวัสดุที่ผ่านการดีเวลล็อปมาแล้ว อาทิ วัสดุสำหรับใช้ภายนอกที่ถูกกัดกร่อนจากระยะเวลาของธรรมชาติ ทั้ง แสงแดด น้ำ ฝุ่น ลม ฯลฯ จนเกิดเป็นการกัดกร่อนในรูปแบบต่างๆ การคิดงาน Freezing จึงเกิดขึ้น เพื่อให้ได้สีและรูปแบบให้เหมาะสมกับนำมาใช้ได้ชัดเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดรับกับเทรนด์ของโลก ในเรื่องการใช้ประโยน์จากสิ่งรอบตัว เช่นพวก re-gift / re-target การเชื่อมต่อกับคนต่างสาขา การพัฒนาตัวเองจากสถาปนิกเข้าสู่การทำงานหลากหลาย ความกล้าที่จะเดินผ่านขอบเขต ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทาย และเป็นจุดมุ่งหมายของจาร์เค็น ด้วยเช่นกัน ที่ต้องการให้ลูกค้าเห็นงานออกแบบที่หลากหลาย “นางศศิวิมล กล่าวและเพิ่มเติมว่า
“โดยจัดแสดงในครั้งนี้ นับเป็นการการนำจุดเด่นทั้ง 2 ส่วน คือ ทั้งนวัตกรรมของผลงาน ที่นำเอาบริบทของ “สภาพการกัดกร่อน” ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจและนำมาทดลอง โดยการเลียนแบบตามวิธีของธรรมชาติ เพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงานศิลปะที่มีทั้งความโดดเด่นและมีคาแรคเตอร์ เพราะวัสดุที่ถูกกัดกร่อนตามธรรมชาตินั้น จะมีลักษณะความพิเศษที่น่าสนใจหลากหลายแบบ ดีไซน์เนอร์จึงเลือกวิธีการ “หยุด”(freeze) การกัดกร่อนหรือเสื่อมสลายของผิวสัมผัส (texture) และเลือกเอาผิวสัมผัส (Texture) เหล่านี้มาใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายใน ทำให้เราสามารถสร้างชิ้นงานศิลปะชิ้นใหม่ ที่ผสมผสานอยู่ภายในงานอินทีเรียดีไซน์ได้”
“สำหรับการจัดแสดง ดีไซน์เนอร์ใช้หัวใจเป็นองค์ประกอบหลัก ที่เป็นตัวแทนของความรู้สึก เศร้า โกรธ เสียใจ หวาดกลัว ทางด้านลบพร้อมด้วยลักษณะพิเศษของสี (การทำปฏิกิริยากับออกซิเจน) เพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารของความรู้สึกที่แตกต่างกัน เป็นการสื่อสารให้สังคมหยุดเหยียบย่ำหัวใจ ทำร้ายจิตใจ ด้วยการหยุดความคิด ความรุนแรง แม้กระทั่งการหยุดทำลายสิ่งแวดล้อม โดยใช้เฉดสีแนวพาสเทล เพื่อต้องการอ้างอิงว่าจริงๆ แล้ว หัวใจมนุษย์ทุกคนนั้น มีความรู้สึกดีเสมอ ทั้งนี้คนที่เดินผ่านผลงาน heart Object จะต้องมีสติในการเดินและพึงระวังการเหยียบหัวใจ หรือ heart Object ซึ่งเป็นการตีความในรูปแบบที่ตรงไปตรงมา โดยศิลปินตั้งใจให้งานศิลปะครั้งนี้ถูกตีความออกมาในภาษาทางความรู้สึกแบบเข้าใจง่ายก่อนที่จะเดินผ่านพื้นที่นี้จะมีภาพเนื้อหาให้ผู้ที่สนใจได้ดู เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่อจิตใจของผู้ดูก่อนที่จะเดินเข้าไปในพื้นที่แห่งนี้” นางศศิวิมลกล่าวสรุป
อย่างไรก็ดี สำหรับภาพรวมของการจัดงานแสดงในส่วนของ Venice Art Biennale 2017 นั้น นางสาวนีน่า โดริโก้ ( Nina Dorigo) ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลการจัดงานในครั้งนี้ เปิดเผยว่า “สำหรับคอนเซ็ปต์ ของงาน Venice Art Biennale 2017 นี้ เรามองว่า ในทุกๆ พฤติกรรมมนุษย์ที่ได้ตอบสนองต่อสรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ด้วยกันเอง สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยที่พฤติกรรมนั้นถูกบ่มเพราะมาจากพื้นฐานของครอบครัวเป็นสำคัญ โดยภาพรวมอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันเป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากต่อปฏิกิริยายาที่พึงแสดงพฤติกรรมของมนุษย์และขยายออกไปสู่วงกว้าง ถ้าเราสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ณ ปัจจุบันนี้ อาทิ ปัญหาความรุนแรง, ปัญหาทำร้ายกลุ่มสตรีและเด็ก การไม่เท่าเทียมกันของชนชั้นคนรวยและคนจน การทารุณกรรมสัตว์ การขายแรงงาน หรือภาวะสงคราม เป็นต้น ล้วนมีการซ่อนตัวของปัญหาทั้งแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผย และส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งสิ้น เปรียบเหมือนกับกฎแห่ง Butterfly effect ที่สามารถลุกลามใหญ่โต และก่อให้เกิดปัญหาระดับโลกได้ ซึ่งพื้นฐานของการรับรู้นั้น มีที่มาจากจิตใจมนุษย์เป็นสำคัญ
สำหรับงานศิลปะในครั้งนี้ เราต้องการให้ผู้ที่ร่วมเข้าชมมีส่วนร่วมกับผลงานทางศิลปะของเรา เพื่อให้เกิดข้อคิดของการระวังพึงทำร้ายจิตใจมนุษย์ด้วยกันเอง หรือแม้กระทั้งสัตว์ และสรรพสิ่งที่ล้วนเกี่ยวพันธ์กับชีวิตทุกอย่างบนโลกนี้ “จงพึงระวังการทำร้ายจิตใจตัวเองและผู้อื่น”
นอกจากนี้ ภายในงานจะมีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ผลงาน และ ความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบจากทั่วโลก ที่มาจากวัฒนธรรมอันหลากหลาย เพื่อแสดงศักยภาพของนักออกแบบที่สร้างสรรค์ผลงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้เข้าชมที่จะได้เห็นถึงการสร้างผลงานด้วยความชาญฉลาดอย่างคาดไม่ถึง ในการใช้พื้นที่ในการสร้างความเชื่อมโยงกับทุกสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มการรับรู้ของงานออกแบบที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ นางสาวนีน่า กล่าวสรุป