ในปี 1983 ไนกี้นำเสนอรองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัส (Pegasus) รองเท้าวิ่งที่ไนกี้ต้องการให้เป็นรองเท้าวิ่งสำหรับนักวิ่งสมัครเล่น โดยไนกี้ได้ออกแบบให้รองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสให้มีคุณสมบัติราวกับกำลังลอยขึ้นสู่อากาศ (เหมือนกับภาพจำของม้าเพกาซัส ม้ามีปีกในตำนานที่ไนกี้นำชื่อมาตั้งให้กับรองเท้าตระกูลนี้) เพื่อให้สื่อถึงการเคลื่อนไหว ความรวดเร็ว และสร้างความรู้สึกราวกับผู้สวมใส่กำลังบิน ตลอดระยะเวลา 35 ปีของรองเท้าวิ่งตระกูลนี้ ไนกี้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมายเพื่อให้รองเท้าวิ่งตระกูลนี้เหมาะสมกับผู้สวมใส่หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่นักวิ่งระยะไกลระดับโลกไปจนถึงนักวิ่งมือสมัครเล่น และรองเท้าตระกูลนี้ยังคงได้รับการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ 10 ประการของรองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสที่หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบมาก่อน

  1. รองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัส เป็นตระกูลรองเท้าวิ่งที่มียอดขายสูงสุดของไนกี้
  2. คุณมาร์ก พาร์เกอร์ (Mark Parker) ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน, ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไนกี้ เป็นหนึ่งในทีมงานผู้ร่วมสร้างสรรค์รองเท้าเพกาซัสรุ่นแรก ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ขั้นสูงและผู้อำนวยการฝ่ายงานต้นแบบและวิศวกรรม
  3. รองเท้าเพกาซัสเป็นรองเท้ารุ่นแรกของไนกี้ที่มีเทคโนโลยีแอร์เวจ (Air Wedge) หรือเทคโนโลยีแอร์สำหรับบริเวณส้นเท้า แทนที่เทคโนโลยีอีวีเอเวจ (EVA Wedge) โดยแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ไนกี้ฉบับเดือนตุลาคม ปี 1992 ระบุว่าเทคโนโลยีนี้ “สามารถลดแรงกระแทก เมื่อเท้ากระทบพื้นได้สูงกว่าเทคโนโลยีอีวีเอเวจ ถึงร้อยละ 12” อันที่จริงแล้ว รองเท้าเพกาซัสเดิมมีชื่อเรียกว่ารองเท้ารุ่นแอร์เวจเทรนเนอร์ (Air Wedge Trainer)
  4. ในปี 1987 ไนกี้ได้ผลิตรองเท้าตระกูลเพกาซัส สำหรับสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
  5. ไนกี้แนะนำนวัตกรรมวิซิเบิล แอร์ (Visible Air) ในรองเท้าตระกูลนี้เมื่อปี 1996
  6. คุณฟิล ไนท์ (Phil Knight) ผู้ก่อตั้งแบรนด์ไนกี้อาจจะกำลังใส่รองเท้าเพกาซัสสีดำอยู่ ณ ตอนนี้ก็เป็นได้ เนื่องจากหลายๆ คนเคยเห็นเขาใส่รองเท้ารุ่นดังกล่าวสีดำในงานพิธี งานกล่าวสุนทรพจน์ต่างๆ หรือในงานประชุมจำนวนมากที่เขาต้องเข้าร่วมในสำนักงานใหญ่ของไนกี้ที่เมืองบีเวอร์ตัน รัฐโอเรกอน
  7. ไนกี้เคยเลิกผลิตรองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสในปี 1997 และตั้งตระกูลรองเท้าใหม่ชื่ออาร์ม่า (Arma) ซึ่งใช้รากฐานทางนวัตกรรมเดียวกับรองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสในปีต่อมา และกลับมาผลิตพร้อมจำหน่ายอีกครั้งภายใต้ชื่อรุ่นแอร์ เพกาซัส 2000 (Air Pegasus 2000) ในปี 2000 ออกแบบโดยคุณฌอน แมกโดเวลล์ (Sean McDowell) ผู้ออกแบบรองเท้ารุ่นแอร์แมกซ์พลัส (Air Max Plus) โดยรองเท้ารุ่นนี้เป็นหนึ่งในคอลเลกชั่นรองเท้าโบวเวอร์แมนซีรี่ย์ (Bowerman Series) คอลเลกชั่นพิเศษที่ไนกี้ใช้นำเสนอตระกูลรองเท้าที่ไนกี้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นรองเท้าที่นักวิ่งอาชีพมักจะแนะนำให้กับนักวิ่งมือใหม่
  8. ไนกี้ปรับแต่งรองเท้าเพกาซัสให้เหมาะสมกับการสวมใส่ของสุภาพสตรีเป็นครั้งแรกในปี 2004 โดยได้ปรับแต่งให้รองรับกับโครงสร้างกระดูกเท้าของสุภาพสตรีโดยเฉพาะ นักออกแบบของไนกี้ออกแบบให้รองเท้าเพกาซัสของสุภาพสตรีมีพื้นที่โค้งเว้ามากกว่าเดิมและเพิ่มส่วนปกป้องช่วงกลางเท้าให้หนาขึ้น โดยไนกี้เริ่มผลิตรองเท้าเพกาซัสสำหรับสุภาพสตรีโดยเฉพาะในปี 2006 และในปี 2018 นี้ ไนกี้พัฒนารองเท้าตระกูลเพกาซัสสำหรับสุภาพสตรีไปอีกขั้นด้วยการเพิ่มโฟมคุชลอน (Cushlon Foam) ลงไปเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของรองเท้า
  9. รองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสเป็นรองเท้าตระกูลแรกของไนกี้นอกเหนือจากรองเท้าบาสเกตบอลที่มีเทคโนโลยีไนกี้ ฟลายอีซ (Nike FlyEase)
  10. รองเท้าวิ่งเพกาซัสรุ่นปี 2018 มีถุงลมไนกี้ แอร์ ซูม (Air Zoom) ซึ่งมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวยาวตลอดพื้นรองเท้า ได้รับการพัฒนาจากรองเท้าไนกี้ ซูม เวเปอร์ฟลาย 4% (Nike Zoom Vaporfly 4%) โดยนักออกแบบของไนกี้ได้ผสาน
    ถุงลม 2 ชิ้นแบบที่ใช้ในรองเท้าวิ่งตระกูลเพกาซัสรุ่นก่อนหน้าให้เป็นถุงลมเดียวและมีรูปทรงคล้ายกับแผ่นพื้นคาร์บอนไฟเบอร์ทรงโค้งของรองเท้าไนกี้ ซูม เวเปอร์ฟลาย 4% (นักออกแบบของไนกี้ทำการทดลองว่าถุงลมไนกี้แอร์สามารถบิดงอได้เหมือนแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ โดยนำถุงลมไปอุ่นในเตาไมโครเวฟและนำมาพันรอบแก้วเบียร์)

             รองเท้าวิ่งไนกี้ แอร์ ซูม เพกาซัส 35 (Nike Air Zoom Pegasus 35) จะวางจำหน่ายในราคา 4,600 บาท ทั้งทางเว็บไซต์ nike.com ร้านไนกี้สาขาสยามสแควร์วัน เซ็นทรัลเวิลด์ ซูเปอร์สปอร์ต และร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ

Facebook Comments Box